เมนู

2. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่
3. มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
4. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุสติบริสุทธิ์อยู่.

[233] สมาธิภาวนา 4


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่.
2. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่.
3. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่.
4. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้
กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น.
มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่างด้วยประการฉะนี้
สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน. เวทนาทั้งหลาย้อนภิกษุใน
พระรรรมวินัยนี้รู้แล้วย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลาย
อันภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลาย อัน
ภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ สมาธิภาวนานี้อัน
ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มีปกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปา-
ทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป.
ดังนี้เวทนา... ดังนี้สัญญา. . . ดังนี้สังขาร. . . ดังนี้วิญญาณ. ดังนี้ ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรม
แล้ว ต่ำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความในรูปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

[234] อัปปมัญญา 4


1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย
เมตตา แผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่.
2. มีใจประกอบด้วยกรุณา ...
3. มีใจประกอบด้วยมุทิตา...
4. มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง
ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องต้น เบื้องล่าง เบื้องขวา
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานโดยความเป็นคนในสัตว์
ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่.

[235] อรูป 4


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงเสียซึ่งรูป
สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับซึ่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนา
นัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
มิได้ ดังนี้อยู่
2. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึง
เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่